เล่าสุขกันฟัง

ย่อฮีต น้ำคอง (เสาจิตรกรรมภาคอีสาน)

ชื่อผลงาน : ย่อฮีต นำคอง
ขนาด : 670 x 483  เซนติเมตร
วัสดุ/เทคนิค : สีอะคริลิกและทองคำเปลวบนแคนวาส
อยากให้ท่านเล่าถึงแนวคิดของผลงานชิ้นนี้
แนวคิดของผลงานในครั้งนี้ : มาจากการรวบรวมความสุขในการดำรงชีวิต การสร้างสรรค์ประเพณี และสืบสานวัฒนธรรมของคนอีสานที่มีหลากหลาย โดยใช้ตุงใยที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาถ่ายทอดลงบนเสาและได้นำสีจากฮูปแต้มอีสานใช้เป็นโทนสีหลักในชิ้นงาน โดยมีต้นสำมะปิต้นไม้ที่มีทุกสิ่งอย่างของอีสาน ลวดลายของต้นไม้ออกแบบขึ้นใหม่บวกกับลายพื้นถิ่นอีสาน ตามแนวทางฮีตคองของวัฒนธรรม
ความหมายของส่วนต่างๆ ในผลงานของท่านโดยละเอียด : 
ส่วนต่างๆ ของผลงานที่โดดเด่นทั้งเสาคือตุงใยเป็นตัวแบ่งลวดลายของชิ้นงานในการดำเนินเนื้อเรื่องในการเล่าเรื่องวัฒนธรรมประเพณีอีสาน และส่วนพื้นที่ว่างอื่นๆ ก็ได้สอดแทรกประเพณีวัฒนธรรมอีสานเข้าไปให้ได้มากที่สุด และมีต้นสำมะปิที่รวมของดีภาคอีสานไว้มากมาย 
“ตุงใย” หรือตุงใยแมงมุม ทำขึ้นเพื่อแสดงถึงการเคารพสักการะต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อความเป็นมงคลต่อเทศกาลนั้นๆ ใช้ในงานเทศกาลต่างของภาคอีสาน
“ต้นสำมะปิ” สำ-มะ-ปิ เป็นภาษาอีสานที่แปลแล้วได้ความว่า มากมาย มากเหลือหลาย จึงเป็นตามความต้องการที่จะรวบรวมของดีภาคอีสานไว้บนต้นไม้นี้ให้ได้มากที่สุด ลวดลายออกแบบใหม่โดนใช้ลวดลายพื้นถิ่นผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างลงตัว
แรงบันดาลใจและที่มาของแนวความคิด : ตุงใยเป็นเหมือนสื่อกลางเชื่อมความผูกพันของคนในครอบครัวของม โดยเฉพาะหลานสาวที่ผมได้ทำตุงใยไว้ที่บ้าน แล้วแขวนไว้ที่ต้นไม้ที่บ้านให้หลานสาวเล่น จนหลานโตแล้วหลานได้ไปอยู่กับพ่อแม่ เวลาคิดถึงหลานผมชอบมองที่ตุงใยที่แขวนไว้บนต้นไม้ เวลาตุงต้องลมมองแล้วเพลินดีมีความสุข ซึ่งผมนำมาเป็นแรงบัลดาลใจในการทำงานชิ้นนี้ที่สะท้อนความสุขที่บริสุทธิ์
จุดเด่นของผลงานในครั้งนี้ : น่าจะเป็นตุงใยและ“ต้นสำมะปิ” สำ-มะ-ปิ เป็นภาษาอีสานที่แปลแล้วได้ความว่า มากมาย มากเหลือหลาย จึงเป็นตามความต้องการที่จะรวบรวมของดีภาคอีสานไว้บนต้นไม้นี้ให้ได้มากที่สุด