ศิลปะและศิลปิน

ทักษิณหรรษา

ศิลปิน: วรรณนิศา สมบูรณ์, วรัญญู ช่างประดิษฐ์, วุฒิชัย ใจเขียว, ผดุงพงษ์ สารุโณ, ขวัญฤทัย ขวัญทอง, นัฐวุฒิ กองลี, สิทธิศักดิ์ ทองดีนอก, เสกสรรค์ ทุมมัย, อัจฉราภรณ์ กล่ำเกลื่อน, สุริยะ แจ้งสว่าง, สิปปกร ชินกลาง, แทนกมล เครือรัตน์, สุภาวดี สงครามศรี 
เทคนิค: สีอะคริลิค
ผลงานภาพวาดที่ถ่ายทอดความเป็นไทยผสานวิถีแห่งตะวันตก ผ่านแนวคิดที่แปลกใหม่น่าสนใจได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นการนำภาพถ่ายของสถานที่จริงของสถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีสที่มีเสน่ห์น่าหลงใหลและมีเอกลักษณ์อมตะของภาคใต้ มาผสมผสานกับจินตนาการที่สะท้อนเรื่องราวของผู้คนในพื้นที่ซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนา แต่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างผาสุกเป็นหนึ่งเดียว
 

อีสานสุขสันต์

ศิลปิน: วรรณนิศา สมบูรณ์, วรัญญู ช่างประดิษฐ์, วุฒิชัย ใจเขียว, ผดุงพงษ์ สารุโณ, ขวัญฤทัย ขวัญทอง, นัฐวุฒิ กองลี, สิทธิศักดิ์ ทองดีนอก, เสกสรรค์ ทุมมัย, อัจฉราภรณ์ กล่ำเกลื่อน, สุริยะ แจ้งสว่าง, สิปปกร ชินกลาง, แทนกมล เครือรัตน์, สุภาวดี สงครามศรี 
เทคนิค: สีอะคริลิค 
กลุ่มศิลปินนำเอกลักษณ์อันโดดเด่นของศิลปะแห่งภาคอีสานมาสร้างสรรค์ผลงานที่สนุกสนานและร่วมสมัย สะท้อนถึงเรื่องราวแห่งอีสาน อันได้แก่ ตำนานผีตาโขน หรือภาพเขียนฝาผนังภายนอกโบสถ์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของภาคอีสานที่แตกต่างจากภาพเขียนฝาผนังโบสถ์ในภาพอื่นๆ ที่จะวาดไว้ภายใน นำเสนอผลงานด้วยโทนสีหลากหลายสะดุดตาสร้างภาพลักษณ์ที่ดูสนุกสนาน ซึ่งสะท้อนถึงจิตใจของผู้คนที่เป็นมิตรและเบิกบานของชาวอีสานนั่นเอง
 

สวรรค์กลางกรุง

ศิลปิน: วรรณนิศา สมบูรณ์, วรัญญู ช่างประดิษฐ์, วุฒิชัย ใจเขียว, ผดุงพงษ์ สารุโณ, ขวัญฤทัย ขวัญทอง, นัฐวุฒิ กองลี, สิทธิศักดิ์ ทองดีนอก, เสกสรรค์ ทุมมัย, อัจฉราภรณ์ กล่ำเกลื่อน, สุริยะ แจ้งสว่าง, สิปปกร ชินกลาง, แทนกมล เครือรัตน์, สุภาวดี สงครามศรี 
เทคนิค: สีอะคริลิค
ผลงานการสร้างสรรค์ที่บอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา สะท้อนความเรียบง่ายตามแบบของคนไทยในอดีตกาล ไม่ว่าจะเป็นการค้าขายในเรือที่ตลาดน้ำอันเป็นเอกลักษณ์ หรือบรรยากาศบ้านเรือนริมน้ำที่นับวันยิ่งจะหาชมได้ยาก กลุ่มศิลปินนำความทันสมัยของยุคปัจจุบันไปสอดแทรกและสร้างสรรค์ผลงานที่ดูความร่วมสมัยและเต็มไปด้วยอารมณ์ขัน ผ่านลวดลายเส้นแบบไทยที่มีเสน่ห์และมีเอกลักษณ์อันโดดเด่น
 

กฤษ สถาพรนานนท์ กลุ่มอนุรักษ์สิ่งทอ หมู่บ้านหนองเต่า อ.บ้านแฮด จ.ขอนแก่น กลุ่มหัตถกรรมบ้านอุ่น ต.เขวาไร่ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม

ผลงาน:   อีสานออนซอน
ขนาด:    -
วัสดุ:      ผ้าขาวม้าและตุงใยแมงมุม
เทคนิค:   ถักและจัดวาง
 
วัสดุหลักสองชนิดที่อยู่ในงาน “อีสานออนซอน” คือผ้าขาวม้าและตุงใยแมงมุม ซึ่งถือเป็นอัตลักษณ์ของภาคอีสานทั้งคู่ โดยเฉพาะผ้าขาวม้าขอนแก่นที่อยู่ในงานนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นลาย “หมี่กง” ลายผ้าเก่าแก่ของจังหวัด ที่เน้นสีม่วง แดง เขียว สีดั้งเดิมของผ้าขาวม้าขอนแก่น
 
ส่วนตุงใยแมงมุม เครื่องแขวนศักดิ์สิทธิ์ของชาวอีสาน เป็นสัญลักษณ์แห่งงานบุญ และการปกป้องคุ้มภัย การแขวนตุงนี้ไว้จึงถือเป็นเรื่องมงคลอย่างหนึ่ง

กระด้งรังไหม

ศิลปิน : เพลินจันทร์ วิญญรัตน์ และวิสาหกิจชุมชนสหกรณ์จักสานตำบลเหล่าพัฒนา อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม ขนาด:  เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.8 เมตร (4 ใบ) / เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.2 เมตร (3 ใบ) /เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.6 เมตร (3 ใบ)
วัสดุ :    กก
เทคนิค : สาน
กระดงรังไหมทั้ง 10 ใบนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากแนวคิดเรื่องภาพลวงตา ภาพที่ตามองเห็นกับที่ภาพสมองรับรู้ เส้นรอบวงที่เห็นอยู่บนกระด้งรังไหมเหล่านี้จะทำให้ดูเหมือนกระด้งหมุนอยู่ ทั้งที่ความจริงแล้วตัวกระด้งไม่ได้ขยับเลย
 

 

หนังตะลุง

ศิลปิน : วาที ทรัพย์สิน
ขนาด : 75–100 ซม. (10 ตัว)
วัสดุ : หนังวัว
เทคนิค : การตอกหนังตะลุง
หนังตะลุงทั้ง 10 ตัวนี้คือการสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ โดยอิงรากฐานมาจากตัวตลกหนังตะลุง ที่สร้างความสุขและความบันเทิงแก่ผู้ชม มีทั้งสาวชาวบ้านที่ชอบแต่งตัวหลากสีสัน มุสลิมตัวผอมผู้หลงใหลการเลี้ยงนก หนุ่มชาวสวยผู้รักสวยรักงาม คนแก่ที่ชอบดื่ม แต่เวลาเมาแล้วใจดี เด็กผมแกละที่คอยช่วยพ่อแม่ขายหมู เด็กมุสลิมผู้มีความสุขยามได้กิน หนุ่มชาวไร่ผู้ชอบคุยเรื่องการเมืองและกฎหมาย สาวชาวบ้านผู้หลงใหลแฟชั่นและชอบแต่งตัวเลียนแบบฝรั่ง เด็กชายผู้ชอบยิงนกหาปลา และลูกคนจีนที่ชอบเที่ยวป่า 
 

 

สุขสยาม ในดินแดนภาคใต้

ศิลปิน : ศุภชัย แกล้วทนงค์ และกลุ่มทำกรงนก จังหวัดนครศรีธรรมราช
ขนาด : 4.8 x 7.2 เมตร
วัสดุ : ไม้พื้นถิ่น
เทคนิค : เทคนิคการทำซี่กรงนก
หากใครเคยไปเยือนดินแดนภาคใต้มาแล้ว สิ่งหนึ่งที่น่าจะพบเห็นเป็นเรื่องปกติ คือกรงนกรูปแบบต่างๆ ที่แขวนอยู่ตามชายคาบ้านเกือบทุกหลังคาเรือน เนื่องจากมีการเลี้ยงนก เช่น นกกรงหัวจุก นกเขาเล็ก นกเขาใหญ่ ที่ส่งเสียงขัน สร้างความเพลิดเพลินและสบายใจ อาจเรียกได้ว่า นี่คือวิถีแห่งความสุขของคนใต้ตามแบบฉบับท้องถิ่นที่อยู่คู่กันมาช้านาน
 

 

โคมปาเต๊ะ

ศิลปิน: ภิรดา เสนีวงศ์ ณ อยุธยา และกลุ่มชุมชน ชัยบาติก ภูเก็ต (Pirada Senivongse Na Ayudhya and Chai Batik Community, Phuket)
ขนาด: กว้าง 80 x สูง 100 ซม. (20 โคม), กว้าง 110 x สูง 55 ซม. (30 โคม), กว้าง 160 x สูง 120 ซม. (30 โคม)         
วัสดุ:เหล็กและผ้า
เทคนิค: ดิจิตอลปริ้นท์ และกรรมวิธีทำโคมแบบดั้งเดิม
ภาคใต้ของไทยคือแหล่งรวมวัฒนธรรมอันหลากหลาย อันเนื่องมาจากภูมิประเทศที่ติดทะเลทั้งสองฝั่ง ในอดีตจึงเป็นดินแดนที่มีชาวต่างชาติจำนวนมากเข้ามาค้าขาย ส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากหลายแหล่ง เช่น วัฒนธรรมชาวจีนฮกเกี๊ยน วัฒนธรรมสไตล์ชิโน-โปรตุกีส สำหรับการออกแบบโคมไฟนี้ ศิลปินได้หยิบยกโคมสไตล์จีนมาผสมผสานกับผ้าบาติกหรือปาเต๊ะ อันเป็นศิลปะหัตถกรรมท้องถิ่นที่โดดเด่นของภาคใต้ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากอินโดนีเซียและอินเดีย
 

 

ว่าวเบอร์อามัส

ชื่อผลงาน : ว่าวมลายู
ขนาด : 
วัสดุ : 
เทคนิค : 
อยากให้ท่านเล่าถึงแนวคิดของผลงานชิ้นนี้
แนวคิดของผลงานในครั้งนี้ : อยากให้ชาวสามจังหวัดภาคใต้มีความสุข มีรอยยิ้ม มีกิจกรรมที่ทำให้เกิดความบันเทิง ผ่อนคลายความเครียดจากเหตุการณ์ความไม่สงบ มาสร้างความสามัคคีในหมู่ผู้คนให้เกิดการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างมีความสุข
ความหมายของส่วนต่างๆ ในผลงานของท่านโดยละเอียด :
แรงบันดาลใจและที่มาของแนวความคิด :
จุดเด่นของผลงานในครั้งนี้ : ความใหญ่และลวดลายของดอกไม้ที่มีอยู่ในสามจังหวัด ที่มีความหลายหลายและสวยงาม แต่ยังคงเป็นว่าวเบอร์อามัสที่สวยงามและโดดเด่น
อยากให้ท่านได้เล่าถึงวิธีการทำงานโดยละเอียด
ท่านใช้วัสดุและเทคนิคใดในการสร้างสรรค์ผลงาน : 
1.ลำตัว ประกอบด้วย หัวใจ คือดอกที่อยู่ตรงกลางต้องเป็นดอกที่ที่มีสีสดใสที่สุดเพราะนั้นคือหัวใจหลักของว่าวเบอร์มัส จะใช้ดอกลักษณะไหนก็ได้แต่ต้องเด่นที่สุด 
2.ลวดลาย ของว่าว เป็นลักษณ์ดั้งเดืมของชาวมลายู คนสมัยก่อนดัดแปลงลวดลายจากพืชผลท้องถิ่นมาเป็นลาย เช่น ใบพลู, ใบสาเก, ใบสาหร่าย, ใบผักบุ้ง, ส่วนลายดอกไม้จะเน้นดอกชบาที่มี 5 แฉก ที่สำคัญลายในใบไม้บนว่าวจะไม่ทิ่มแทงกัน แต่ละลายของใบจะหลบกัน เน้นการไม่เบียดเบียนกันและกัน แต่ให้เกียรติซึ่งกันและกัน การทำลวดลายเน้นกระดาษเป็นชั้นๆทำให้ลายมีมิติเวลาเห็นจะดูมีชีวิต ซึ่งการซ้อนของลวดลายกระดาษต้องซ้อนมากกว่า 3 ชั้น 
3.ปีก ปีกทั้งสองข้างต้องซ้อนกระดาษในลวดลายเดียวกัน เพื่อให้เกิดความสมดุลเพราะต้องซ้อนกระดาษให้เท่ากันเพราะอาจทำให้ตัวว่าวไม่สมดุลกัน 
4. หัว ไม่เน้นลวดลาย แต่เน้นการใสพูให้ดูแล้วสวยงาม พูก็จะมีสีสันต่างกันออกไป แต่จะเน้นสีตามตัวว่าวแต่ละตัว
5.หาง เป็นตัวเพิ่มเติมจากตัวว่าวเพื่อให้เกิดความสวยงานและอ่อนช้อยมายิ่งขึ้นและต้องใสลาดลายเช่นกันทั้งสองช้างลวดลายต้องให้เหมือนกับลำตัวของว่าว
6.อินทรธนู ในส่วนที่อยู่บนลำตัวว่าว เป็นส่วนประกอบที่สำคัญเช่นกัน เพราะสามารถบ่งบอกว่าว่าชนิดนี้เป็นขอกษัตรีหรือผูที่มีเกียรติสามารถใช้ว่าวชนิดนี้ได
7. แอก เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้ว่าวมีเสียง สามารถรับรู้ไดเลยว่าวของเราอยู่ในส่วยใหนของท้องฟ้าและเป็นเสียงเอกลักษะ
ขั้นตอนการทำงาน : เริ่มประชุมสมาชิกในกลุ่ม ช่วยกันออกความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกแบบลายว่าวทั้ง 10 ตัวให้มีความสวยงาม สะดุดตา แต่ยังคงความงดงาม และแบ่งเป็นกลุ่ม ดังนี้
1.ฝ่ายจัดหาไม้ไผ่ ให้ฝ่ายจัดหาไม้ไผ่เริ่มคัดเลือกไม้ไผ่ที่แก่พอประมาณห้ามแก่หรืออ่อนเกินไปเพราะจะทำให้หักโค้งลำบากเพราะอาจจะหักหรือแตกง่ายจึงต้องคัดเลือกไม้ไผ่เป็นอย่างดี
2.ฝ่ายเหลาไม้ไผ่ ให้ฝ่ายจัดเหลาไม้ไผ่วัดขนาดของว่าวและทำการเหลาตามขนาดของว่าวทั้ง 10 เหลากระดงหลัก ปีกว่าว กลางปีก ขา ให้มีขนาดความยาวให้เหมาะสม
3.ฝ่ายประกอบโครง ให้ฝ่ายจัดทำโครงนำไม้ไผ่ที่ได้เหลาเรียบร้อยแล้วมาประกอบให้เป็นโครงตามขนาดที่เหมาะสม นำเชือกมาผูกตามข้อต่อของว่าวที่สมบูรณ์
4.ฝ่ายจัดทำลวดลายบนว่าว ฝ่ายนี้เมื่อรู้ขนาดของว่าวแล้ว ก็นำกระดาษมันปูสีดำมาทำการแกะลายรอบที่ 1 เมื่อได้ลายเสร็จแล้วก็นำกระดาษสีทองทับลายที่ได้แกะตั้งไว้ แล้วนำมาติดกาวให้ได้ลายสีทองที่สวยงาม จากนั้นเมื่อกาวแห้งแล้วนำมาแกะลายอีกรอบแล้วนำกระดาษสีต่างๆมาแปะตามแบบที่ได้ออกแบบไว้ ก็จะได้ลวดลายและสีสันที่สวยงาม
5.ฝ่ายประกอบว่าวเข้าโครง นำโครงว่าวและตัวว่าวที่แกะเสร็จแล้ว นำมาประกอบให้เสร็จสมบูรณ์และติดพู่ตามจุดต่างๆให้ดูอ่อนช้อยและคงอนุรักษ์เอกลักษณ์ของว่าวที่สืบทอดกันมา
ระยะเวลา : ว่าว 1 ตัว ใช้เวลาประมาณ 3-4  วัน
ทีมงาน :  ทั้งหมดมี 5 คน ประกอบด้วย
1.นายมาหามะรอซี ตะลี
2.นายอาแล ตอแลมา
3.นายมูฮำหมัดยากี เจ๊ะแว
4.นายแวอารง แวโนะ
5.มะยูโซะ อาตะบู
ในมุมมองของท่านวัฒนธรรมและรากเหง้าความเป็นไทยส่งผลต่อแนวความคิดและผลงานท่านอย่างไร : คิดว่าวัฒนธรรมในสมัยก่อนจนถึงปัจจุบันจนถึงปัจจุบันเป็นการสื่อความหมายที่ดีมาก เพราะได้บ่งบอกถึงขนบธรรมเนียมประเพณีจากอดีตจนถึงปัจจุบันการสืบทอดวัฒนธรรมในสมัยก่อนในสมัยก่อนเป็นสิ่งที่ดีมากเพราะคิดว่าวัฒนธรรมในอดีตจะมีเรื่องราวดีๆให้ได้เผยแพร่จนถึงปัจจุบัน เหมือนผลงานของกลุ่มคนรักว่าวยะลาได้เสนอ ความเป็นไทยในสมัยก่อนนั้นคือ ว่าว เพราะว่าวในยุคก่อนจะมีแต่กษัตริย์เท่านั้นที่สามารถครอบครองหรือเล่นว่าวได้ แต่ปัจจุบันวัฒนธรรมเริ่มเปลี่ยนไปทุกคนสามารถเล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เพื่อความบันเทิงและสร้างรอยยิ้มให้กับทุกคน
ท่านเป็นคนจังหวัดใด เสน่ห์ของท้องถิ่นและชุมชนของท่านคืออะไร : เป็นคนจังหวัดนราธิวาส เสน่ห์ของท้องถิ่นมีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นด้านการท่องเที่ยว น้ำตก ทะเล ภูเขาที่อุดมสมบูรณ์มากๆ ธรรมชาติต้นไม้ อากาศบริสุทธิ์ที่สุด มีผลไม้ที่ขึ้นชื่อ คือ ลองกอง อาหารที่มีรสชาติบ้านๆ คือ บูดูและปลากุเลาที่หายากและมีเนื้อปลาที่อร่อยมาก ด้านวัฒนธรรมคือการละเล่นปังจักสีละ หมากเก็บ ลูกแก้ว และการละเล่นว่าวในช่วงฤดูร้อนและมีมัสยิดและวัดที่เก่าแก่มากมาย เสน่ห์ที่ผมชอบของคนที่นี่คือ รอยยิ้มและการมีน้ำใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นเสน่ห์ที่หายากในสังคมเมืองสมัยนี้ครับ
ความสุขแบบไทยๆ ในมุมมองของท่านคืออะไร : สุขจากภายใน จากความคิดจิตใจของตัวเอง ได้เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ตื่นเช้า เข้าสวนยาง ทำงาน หาเงินเลี้ยงชีพแบบบ้านๆ ปลูกผัก ทำสวน เลี้ยงปลา และพบปะหารือพูดคุยกันหลังเลิกงาน รวมกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามพอมีพอเพียง สามัคคีกันในหมู่บ้าน ไม่จำเป็นต้องมีบ้านโตๆ รถหรูๆ แค่มีเวลาให้ครอบครัว ให้ลูก ให้พ่อแม่ ญาติพี่น้องและทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับทุกคน และที่สำคัญเป็นตัวแทนของการสืบทอดการทำว่าว และขั้นตอนวิธีการทำทุกขั้นตอน เป็นความสุขที่แท้จริงของผมเพราะอยากให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้สืบทอดต่อไป
อยากให้ท่านเล่าถึงความรู้สีกที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ICONSIAM : รู้สึกภูมิใจมากๆ ในฐานะตัวแทนของคนสามจังหวัด คงอธิบายได้ง่ายๆว่า ดีใจและภูมิใจมากๆ ที่สามารถเป็น 1 ใน iconsiam ที่เป็นแลนด์มาร์คการท่องเที่ยวใหม่ของไทย ได้นำเสนอความเป็นไทยสู่สายตาชาวโลก
 

 

สุขก๋าย สุขใจ๋

ศิลปิน : กงพัฒน์ ศักดาพิทักษ์ และสวัสดิ์ แสนบุ่งค้อ
ขนาด : 3.7 x 4.0 เมตร
วัสดุ : -
เทคนิค : สีอะคริลิก
แนวคิดของงาน “สุขก๋าย สุขใจ๋” มาจากสาวเหนือล้านนาแต่งชุดพื้นเมือง เชิญชวนทุกคนมาลิ้มรสอาหารเหนือ ไม่ว่าจะเป็นไส้อั่ว แคปหมู อาหารขึ้นชื่อประจำภาค โดยนำเรื่องราวจากจิตรกรรมล้านนาในอดีตมาผสมผสานกับป็อปอาร์ต งานศิลปะสมัยใหม่
 

 

เครือล้านนา (อุโมงค์สืบสานล้านนา)

ศิลปิน : สันติ ธรรมรัตน์, สมบูรณ์ สูงขาว และสุวรรณ ละม่อม (ทีมงาน พงษ์พรรณ เรือนนันชัย)
ขนาด :  2.4 x 5.0 x 2.4 เมตร (กว้าง / ยาว / สูง)
วัสดุ : แคนวาส
เทคนิค : สีน้ำมันและสีอะคริลิก
แรงบันดาลใจของทีมวาดภาพประดับอุโมงค์ “เครือล้านนา” ในสุขสยามนี้มาจากภาพประดับวัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นภาพจิตรกรรมล้านนายุคทองที่เก่าแก่ที่สุดที่หลงเหลืออยู่ แม้จะลบเลือนไปมากตามกาลเวลาแล้วก็ตาม 
ทีมวาดภาพยังคงความนุ่มนวลและอ่อนหวานของลายเครือล้านนาไว้ ทั้งดอกไม้ หมู่นกที่โบยบินอย่างอิสระบนท้องฟ้า ล้วนสะท้อนภาพความสุขใจออกมา นอกจากนี้นี่ยังเป็นการเปิดประตูให้ทุกคนตามไปดูศิลปะล้านนาอันทรงคุณค่า ณ สถานที่จริงต่อไปด้วย
 

 

กาดสุขใจ

ศิลปิน : พงษ์พรรณ เรือนนันชัย
ขนาด : 9.8 x 3 เมตร
วัสดุ : -
เทคนิค : สีอะคริลิก
ล้านนาดินแดนที่มีนานับล้าน มีความอุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลาในนามีข้าว ผู้คนอยู่ดีกินดี เมื่อท้องอิ่มประกอบกับบรรยากาศธรรมชาติแวดล้อมที่งดงามและเอื้อต่อการรังสรรค์ผลงาน จึงก่อเกิดศิลปวัฒนธรรมต่างๆ อันเป็นความสุขใจในล้านนา 
งาน “กาดสุขใจ” นี้จึงสื่อถึงความสุขสมบูรณ์ การค้าขายที่มีเอกลักษณ์ของล้านนา ผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ อาทิไทยวน ไทลื้อ ไทใหญ่ อยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน นอกจากนี้ศิลปินยังสอดแทรกองค์ความรู้ไว้ในภาพด้วย เช่นการแต่งกาย ลายผ้าซิ่น รอยสัก อักขระล้านนา ตลอดจนภูมิปัญญาด้านหัตกรรม เช่น น้ำต้น ตุง โคม ร่ม นอกจานี้ศิลปินยังตั้งใจวาดรูปเด็กน้อยกับกิจกรรมต่างๆ ด้วย เพราะเด็กคือผู้ที่จะสืบสานต่อลมหายใจศิลปวัฒนธรรมของไทยในอนาคต